โดรนเพื่อการเกษตร Agritech Drone ข้อดีและข้อเสีย

ในเมื่อก่อนถ้าพูดถึงการรวมตัวระหว่างเกษตรกรรมกับเทคโนโลยี อย่างไรก็ดูเข้ากันไม่ค่อยเข้ากัน เนื่องจาก Process ของการทำงานทั้ง 2 ชนิดนี้แตกต่างกันอย่างสุดขั้วเลยทีเดียว ภายหลังเราอาจจะได้เห็นการใช้งานจริงของเทคโนโลยีกับการเกษตรมากกว่าเดิม ด้วยสิ่งนี้จึงทำให้ระบบเกษตรมาการพัฒนามากยิ่งขึ้น ยกระดับรากฐาน ความเป็นอยู่ที่ดี สร้างผลผลิตต่อเกษตรกรได้อย่างมาก 

ปัจจุบันเริ่มมีกลุ่ม Start Up ริเริ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับเกษตรอยู่บ้าง เราจะเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Agritech เกิดจากการรวมของ Agriculture และ Technology กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจ Agritech หมายถึง การเกษตรสมัยใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนการทำงานเปลี่ยนจากระบบเกษตรแบบเดิมๆ สู่เกษตรที่มีนวัตกรรมจากเทคโนโลยีเจ๋งๆ แต่จะบอกเลยว่า Agritech นี่แหละที่สามรถทำให้ทุกคนร้องว๊าวออกมาได้เลย แทบไม่อยากจะเชื่อเลย ว่าการเกษตรกับเทคโนโลยีสามารถทำงานร่วมกันได้

โดรนเพื่อการเกษตร

Agritech เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรฝั่งต่างประเทศอย่างแพร่หลาย และมีแนวโน้มว่าจะพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เราอาจจะได้เห็นการใช้เทคโนโลยีในการวิจัยพืชพันธุ์ ตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมการผลิตไปจนถึงขั้นตอนเก็บเกี่ยว แถมยังมีโปรแกรมที่ช่วยสนับสนุนการขาย การนับจำนวนสต๊อกของสินค้าการเกษตร หรือแม้แต่การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เทคโนโลยีเหล่านี้มีอิทธิพลและบทบาทต่อกันพัฒนา และยกระดับเกษตรกรรมให้เหนือขั้นกว่าเดิม โดยจะทำงานผ่านอุปกรณ์ IoT และ Big Data เพื่อเอื้ออำนวยต่อการวิเคราะห์ข้อมูล เราอาจจะเคยเห็นบทความผ่านสื่อต่างๆว่าต่างประเทศมีการใช้เทคโนโลยีร่วมมากน้อยเพียงใด เช่น โดรน รถแทรคเตอร์ไร้คนขับ เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ เครื่องรดน้ำอัตโนมัติในเกษตรโรงเรือน เครื่องตัดหญ้าโซลาร์เซลล์ การรวบรวมข้อมูลละวิเคราะห์ เซนเซอร์วัดความชื้น การทำธุรกิจเกษตรแบบ e-commerce หุ่นยนต์ให้อาหารสัตว์ หลอดไฟโรงเรือนแบบพลังงานแสงอาทิตย์

ในไทยเองได้มีการทดลองใช้โดรนกับพื้นไร่นา เช่น การใส่ปุ๋ย สำรวจที่ดินแบบมุมสูง รดน้ำ สามารถควบคุมปริมาณการใช้ทรัพยากรณ์ได้อย่างพอเหมาะ ส่วนการควบคุมนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของโดรนแต่ละชนิด บางชนิดควบคุมด้วยคน บางชนิดควบคุมผ่านระบบ GPS ในการเข้าถึงพื้นที่

โดรนเพื่อการเกษตร

โดรนแบ่งเป็น 3 ประเภท โดยแบ่งตามการใช้งาน

Multirotor UAVs เป็นโดรนที่เน้นใช้งานทั่วไป เนื่องจากการใช้งานค่อนข้างง่าย สามารถขึ้นบินได้เลย โดยไม่ต้องใช้พื้นที่ในการลงจอดและเตรียมบิน

Fixed-wing drones เหมาะกับการสำรวจพื้นที่ในวงกล้าง เพราะมีความเร็วและแรงกว่า บินได้ระยะทางไกล แต่ข้อเสียคือ โดรนชนิดนี้ต้องใช้พื้นที่ในการลงจอดและเตรียมบิน

Hybrid model (tilt-wing) ยกให้เป็นขั้นสุดของโดรน ด้วยระยะเวลาที่สามารถบินได้นานกว่าแบบอื่นๆ ความเจ๋งอยู่ตรงที่ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการลงจอดและเตรียมบิน 

โดรนเพื่อการเกษตรเป็น 2 ประเภท

โดรนประเภทฉีดพ่น (Spraying Drone) โดรนชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายมาสักพักใหญ่ในต่างประเทศมาสักพักแล้ว นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยแบ่งเบาการใช้แรงงานของเกษตรกร เพราะเมื่อก่อนเกษตรกรจะต้องพกภาชนะใส่ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงไว้ที่หลังหรือข้างลำตัว แล้วฉีดพ่นไปยังพื้นที่ที่ต้องการฉีดพ่น ในการฉีดพ่นเกษตรกรต้องเข้าไปฉีดในไร่นา ทำให้มีโอกาสสูงในการทำลายผลผลิตบางส่วนจากการเหยียบย่ำ และทำให้เสียเวลา เสียสุขภาพ เนื่องจากเกษตรกรต้องแบกรับน้ำหนักจนทำให้ปวดหลังหรือตามอวัยวะต่างๆ ได้

แต่ที่ร้านยแรงที่สุดคือ เกษตรอยู่กับสารเคมีอย่างใกล้ชิดที่สุด ทั้งสัมผัส สูดดม ระเหยเข้าตา และเมื่อมีการทำการเกษตรอย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่าเกษตรกรเองก็ได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยการทำงานของโดรนนั้น จำเป็นต้องมีภาชนะที่มีรูใส่อยู่ตรงบริเวณขาโดรน โดยมีกลุ่มเกษตรกรบางส่วนออกมาทดลองการหว่านปุ๋ยแล้ว ใช้เวลาต่อไร่ไม่เกิน 30 นาที แถมยังมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากกว่าแรงงานคนกว่าร้อยละ 30-40

โดรนสำรวจพื้นที่ (Data – mapping drone) โดรนถ่ายภาพพื้นดิน อาศัยหลักการทำงานจากระบบ GPS จากดาวเทียมของ Google เพื่อหาพิกัดต่างๆ ข้อดีของการถ่ายภาพมุมสูงทำให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์คุณภาพของดินได้ก่อนดำเนินการปลูก หรือสามารถวางแผนการปลูกไว้ล่วงหน้าก่อนถึงฤดูเก็บเกี่ยว

ความจริงของการนำโดรนถ่ายภาพมุมสูง คือ สามารถตรวจสภาพดินแบบเชิงลึกได้ ชนิดของโดรนแบ่งไปตามขนาดของไร่ ที่จะทำการปลูกพืช การถ่ายภาพจะแบ่งเป็นสองรอบโดยรอบแรกใช้ถ่ายกล้องธรรมดาแบบรายละเอียดสูง FULL HD รอบที่สองจะใช้กล้องแบบ Multispectral เพื่อกรองสีของพื้นที่โดยจะวิเคราะห์จากความสมบูรณ์ของสีใบไม้และดิน โดยระบบจะสามารถวิเคราะห์การปลูกที่เหมาะสมต่อพื้นที่เพื่อเกษตรกร

ที่มา technology-in-business.net

ข้อดีของการใช้โดรนเพื่อการเกษตร

  • ประหยัดเวลา โดรนสามารถลดระยะเวลาการทำงานจากแบบแผนเกษตรเดิมๆ
  • สามารถบริหาร จัดสัดส่วนปุ๋ย สารเคมี เมล็ดพันธุ์ได้อย่างคุ้มค่ากว่าเดิม
  • ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงาน ควบคุมกำลังคนได้ง่าย
  • ลดการเหยียบย่ำผลผลิต เพราะเกษตรกรไม่จำป็นต้องลงมือพ่นหว่านเอง
  • เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน เพราะไม่ต้องสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง
  • สามารถวิเคราะห์สภาพดินและความสมบูรณ์ของผลผลิตการเกษตร
  • วางแผนและคาดการณ์การผลิตได้ล่วงหน้าได้อย่างสบายๆระบบ GPS
  • ตั้งเวลาการบินล่วงหน้าได้ และไม่ต้องมีคนบังคับเพราะอาศัย
  • ดูแลพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางและเป็นวงกว้าง คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น

ข้อเสียของการใช้โดรนเพื่อการเกษตร

  • เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการใช้โดรนอย่างชำนาญ หากชำนาญไม่พออาจจะเสี่ยงต่อการบินโดนสิ่งกีดขวาง ทำให้โดรนเกิดความเสียหายได้ 
  • โดรนบางชนิดยังมีราคาสูงอยู่บ้าง ทำให้เกษตรกรตัดสินใจซื้อยาก
  • ถึงแม้ว่าโดรนจะทำงานได้ยาวนาน แต่ก็ยังต้องห่วงเรื่องแบตเตอรี่อยู่ดี
  • ต้องทำเรื่องขออนุญาตให้ถูกกฎหมายก่อนเริ่มใช้โดรนก่อน
  • อาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากภาคส่วนอื่น เพื่อร่วมวิเคราะห์ผลผลิต
  • โดรนต้องบินกลับมาเติมปุ๋ย เมล็ดพืช ยาฆ่าแมลงบ่อยครั้ง เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ติดตัวโดรนนั้นมีขนาดจำกัด

เมื่อติดสินใจใช้โดรนบินเพื่อการเกษตรแล้ว ผู้ใช้งานต้องศึกษากฎหมายอย่างถี่ถ้วน เพราะมีหลายๆเคลสที่ผู้ใช้งานรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บินโดรนโดยไม่มีใบอนุญาต สุดท้ายจบที่โดนปรับ

เพราะโดรนตามภาษากฎหมายแล้วก็คือ ‘ภาหนะแบบไม่มีคนขับ’ หรือจะที่กฎเรียกว่า อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน’ ก่อนใช้งานจริงผู้ใช้งานต้อง Play Safe จะดีกว่า ฉะนั้นโดรนจะต้องทำการขึ้นทะเบียนโดรนให้ถูกกฎหมายเสียก่อน ค่าใช้จ่ายโดยประมาณในการขึ้นทะเบียนต่อลำไม่เกิน 2,500 บาท สามารถขอใบอนุญาตบินได้ที่ สำนักงานการบินพลเรือน และขอขึ้นทะเบียนโดรน สำนักงาน กสทช. ถึงอย่างไรก็ตามหากผู้ใช้งานต้องการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายโดรน สามารถค้นหาจาก Google ได้เลย โดยใช้ Keyword ดังนี้ ‘ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑการขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปลอยอากาศยานซึ่งไมมีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558’ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานอย่างถูกกฎหมาย

สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่มีความชำนาญเพียงพอในการใช้งาน หรือยังไม่พร้อมขอใบอนุญาต คุณสามารถลองใช้บริการจากฟรีแลนส์ต่างๆที่มีบริการบินโดรนเพื่อการเกษตร เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการเกษตรแบบเดิมและแบบใหม่ ว่าทั้ง 2 แบบนี้มีข้อแตต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับไลฟ์สไตล์มากกว่ากัน และแน่นอนว่า Teedd 360 มีบริการถ่ายภาพมุมสูงจากโดรน ด้วยคุณภาพความละเอียดสูงกว่า Full HD, 2.7K และ 4K ที่จะทำให้การวิเคราะห์ผลผลิตง่ายกว่าเดิม ด้วยภาพที่ความคมชัดสูงจึงทำให้สามารถเห็นภาพโดยรวมได้อย่างชัดขึ้น ขั้นตอนการทำงานไม่ซับซ้อน เกษตรกรไม่ต้องบังคับโดรนเอง หรือแม้แต่ขออนุญาตก่อนบินโดรน เพราะทีมงานคุณภาพจาก Teedd 360 จะเป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ดูแลเหมือนเพื่อน และพร้อมให้คำปรึกษาต่อลูกค้าทุกท่านด้วยความเต็มใจ ที่สำคัญราคาไม่แพงอย่างที่หลายๆคนคิด

เกษตรกรไทยยังวนลูปกับปัญหาการเหลื่อมล้ำเดิมๆ การทำเกษตรแบบเดิมโดยอาศัยความเชื่ออาจจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ในยุคนี้ ยังต้องอาศัยเทคโนโลยีเป็นผู้ช่วยแบ่งเบางานให้ง่ายยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ทำให้การเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นออก ส่งเสริมระบบการบริหารหรือควบคุมง่ายกว่าเดิม และเพื่อสอดคล้องกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามที่รัฐบาลในวาระนโยบายไว้ พร้อมผลักดันระบบเศรษฐกิจให้มีการส่งออกสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดต่างประเทศ และยังมีอีกหลายนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทสำหรับการเกษตร เพียงแต่โดรนเป็นสิ่งที่เกษตรสามารถเอื้อมถึง ง่ายต่อการเรียนรู้ มีกลุ่มเกษตรกรผู้ชำนาญการคอยให้คำปรึกษา อนาคตคาดการณ์ว่าจะมีผู้ผลิตโดรนเยอะขึ้น ทำให้ราคาของโดรนต่ำลงตามหลักอุปสงค์-อุปทาน เอาไว้ภายภาคหน้า Teedd 360 จะหยิบยก Agtitech มาพูดคุยกันอีก แล้วอย่าลืมบริการคุณภาพจากเรานะ ใช้โดรนรับรองโดนใจแน่นอน

โดรนเพื่อการเกษตร Agritech Drone ข้อดีและข้อเสีย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางด้านล่งนี้

Leave a Reply